วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

 วันอังคาร ที่ 3 ธันวาคม 2557



วันนี้เป็นวันเรียนวันสุดท้ายในการเรียนการสอนวันนี้เน้นเรียนเเบบสบายๆเน้นการพูด
คุยเรื่องราวต่างๆตลอดที่เรียนมาหนึ่งเทอมการศึกษา
  1. เเนะแนวข้อสอบปลายภาคปีการศึกษาที่ 1
  2. เขียนสะท้อนความรู้สึกที่มีต่ออาจารย์มาตลอดช่วงที่เรียนมาในรายวิชานี้
  3. ให้รางวัลเด็กดีเเก่บรรดาเพื่อนๆที่มีตัวปั๊มเยอะที่สุด 8 ลำดับของห้องน่ายินดีมากๆค่ะ

แอบเก็บบรรยากาศน่ารักๆมาฝาก....ยินดีกับเพื่อนๆเด็กดีด้วยค่าาาา






















ความรู้ที่ได้รับ:จากวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กพิเศษ
              คือต้องสารภาพเลยนะค่ะอย่างแรกที่ได้รับจากวิชานี้ในเทอมนี้คือ การทำบล็อกเกอร์ต้องขอสารภาพเลยนะค่ะว่าการทำบล็อคในครั้งนี้เป็นการทำบล็อคครั้งเเรกของเป้เลยค่ะตลอดที่เรียนมา3 ปีไม่เคยทำเองเพื่อนทำให้บ้างเเฟนทำให้บ้างเพราะโดยส่วนตัวเรื่องเทคโนโลยีนี่ไม่เอาไหนเลยค่ะเรียกว่า...(โง่)ระดับ10 เลยหล่ะค่ะและประกอบกับที่บ้านไม่มีคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุคที่จะสะดวกต่อการทำงานเลยก็เลยหนีการทำบล็อกเกอร์มาโดยตลอด แต่การทำบล็อกในครั้งนี้เริ่มจากเริ่มรู้สึกว่าไอเจ้าบล็อกเกอร์เนี่ยเราคงยังต้องเจอมันตลอด 5 ปีเเน่ๆเลยถ้าจะให้เพื่อนหรือเเฟนช่วยตลอดก็คงไม่ได้เกรงใจเค้าเค้าก็มีสิ่งที่เค้าต้องทำ คนอื่นทำได้เราก็น่าทำได้เลยค่อยๆเริ่มเรียนรู้ที่ละนิดที่ละหน่อยทำได้บ้างไม่ได้บ้างอันไหนทำไม่ได้ก็ถามเพื่อนว่าทำอย่างไรเรื่องเทคโนโลยีเนี่ยเป้เรียนรู้ช้ามากเเต่พยามเรียนรู้ซ้ำๆจนพอทำได้อาจจะไม่ได้ดีมากมายหรือสวยงามกว่าคนอื่นแต่ความตั้งใจในการทำนี่ไม่เเพ้คนคนอื่นๆเเน่นอนค่ะ
           ความรู้ที่ได้จากวิชานี้คือเป้อ่ะชอบมากมันเป้นสิ่งที่ไม่เคยเจอเเละไม่เคยเรียนรู้มาก่อนเลยครั้งเเรกๆที่เรียนรู้สึกว่าเด็กพิเศษเนี่ยน่ากลัวมากการกระทำเเต่ละอย่างก็ช่างน่ากลัวไม่มีเหตุผลเลยชาตินี้อย่างได้พบอย่างได้เจอเลย(บอกกับตัวเองในใจ)แต่พอได้เรียนรู้ถึงสาเหตุที่มาที่ไปของพฤติกรรมเเละการกระทำของเค้า...เฮ้ยยยยย....เรารู้สึกว่าเค้าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เราคิดเลยจริงๆเค้าก็มีมุมน่ารักๆของเค้านะ เค้าไม่ได้อยากเกิดมาเป็นแบบนี้เเต่เมื่อมันเลือกเกิดไม่ได้คำว่า"ครอบครัว"จึงเป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดู การเอาใจใส่ การให้ความรักต่อตัวของเด็กอย่างยิ่ง เราได้เห็นความรักที่ยิ่งใหญ่ของพ่อเเม่ที่มีต่อลูกที่เป็นเด็กพิเศษในเมื่อลูกของพวกท่านไม่ได้เกิดมาปกติเหมือนคนทั่วไปท่านทำใจยอมรับความจริงได้อย่างกล้าหาญและหวังเพียงว่าลูกของพวกเค้าจะมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขเเละไม่ไปสร้างความเดือดร้อนให้ใครเเค่เท่านี้จริงๆสำหรับคนเป็นพ่อเป็นเเม่ที่หวังไว้(ซึ้ง...- -.....  ) เด็กก็เหมือนกับผ้าขาวไม่ว่าจะเป็นเด็กพิเศษหรือเด็กปกติธรรมดาเค้าก็คือเด็กยังต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวอีกมามายสภาพเเวดล้อมก็มีส่วนสำคัญในการที่จะพัฒนาเด็กไม่น้อย อย่างไรก็ดีครูถือได้ว่าเป็นพ่อและเเม่คนที่สองของเด็กเมื่ออยู่ที่โรงเรียน การที่ได้เห็นเค้ามีพัฒนาการที่ดีขึ้นสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ก็ถือได้ว่าเป็นความสุขในหัวใจของคนเป็นครูที่หวังว่าจะได้เห็นพวกเค้าเหล่านั้นเติบโตเป็นคนดีของสังคมเเละมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข

ประเมินหลังการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง
อาจจะมีเข้าเรียนสายบ้าง พูดคุยในอาจารย์สอนหน้าชั้นจนอาจารย์ต้องคอยเตือนตลอดๆเเต่ก็ถือว่าเป็นสีสันของชีวิตในการเรียนในรายวิชานี้นะค่ะ ในเรื่องของการเรียนพยายามตั้งใจเรียนสุดๆบ้างครั้งก็มีไขว่เขวไปบ้าง(เพื่อนชวนเม้าส์)แต่คิดว่าตัวเองนั้นได้รับความรู้ในรายวิชานี้อย่างเต็มที่และจะนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดความรู้ในอีกแง่มุมหนึ่งที่คนทั่วไปไม่อาจรู้ได้ว่าเด็กพิเศษเค้ามีความพิเศษสมชื่อเลยค่ะ
ประเมินเพื่อน
เรียนวิชานี้ผ่านไปด้วยดีส่วนหนึ่งมาจากเพื่อนเลยค่ะ เพื่อนคอยช่วยเหลือ คอยตามงานให้เวลาเราไม่มี ช่วยสอนเกี่ยวกับการทำบล็อคด้วย 55555 โดยส่วนมากน่ารักค่ะ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีเยี่ยมตั้งใจเรียนดีทำคะเเนนสอบเยี่ยมกลุ่มเรียนนี้น่ารักอ่ะ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่มาสู่การเรียนการสอนได้อย่างไม่มีเขินอายเรียกว่าเพื่อนักศึกษา(ที่น่ารัก)ของอาจารย์ อาจารย์ให้เกินร้อย บ่อยครั้งอาจารย์คอยเป็นที่ปรึกษาในบางเรื่องที่บางทีพวกเราเองก็ไม่รู้จะไปพึ่งใครแต่ก็มีอาจารย์อยู่ข้างๆเสมอทำให้อุ่นใจขึ้น ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆในการเรียนในรายวิชานี้ค่ะ


  
            



วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครั้งที่15

วันอังคาร ที่ 25 พฤศจิกายน 2557

สรุปความรู้ที่ได้รับ : เป็นแผนผังความคิดดังนี้



ท้ายคาบเรียนอาจารย์ให้นักศึกษาระดมความคิด(สุมหัว)สร้างแผนผังความคิด
เรื่อง "ศูนย์ EI"  จึงเก็บตกภาพบรรยากาศในการทำงานชิ้นนี้มานำเสนอ


 ยิ้มหวานงามๆ.....กับผลงานที่สำเร็จ




ห้องเรียนเเรกของเด็กพิเศษ



ความรู้ที่ไดรับ
เด็กก็เหมือนผู้ใหญ่ที่ต้องการความรักความอบอุ่นจากครอบครัวยิ่งเป็นเด็กพิเศษแล้วด้วยนั้นเค้ายิ่งต้องการความรัก ความเอาใจใส่ การดูเเลมากกว่าเด็กปกติทั่วไป ดังนั้นพ่อเเม่ผู้ปกครองจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากต่อตัวเด็กเพราะหากครอบครัวมีความเข้มแข็ง มีความรู้เกี่ยวกับโรคที่เด็กเป็นเข้าใจถึงปัญหาของตัวเด็กและไม่ย่อท้อที่จะพัฒนาตัวของเด็กให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นจนเค้าาสามารถที่จะดำรงค ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขและไม่เป็นภาระของสังคม

การประเมินหลังการสอน
ประเมินตนเอง
วันนี้เรียนเเบบสบายๆไม่มีอะไรเยอะเเยะ เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียนอย่างเต็มที่เเละงัดเอาความรู้ที่ได้ดูจากVDO (ที่จดอันน้อยนิด)มาเป็นส่วนประกอบในเเผนผังความคิดเพื่อส่งอาจารย์ท้ายคาบเรียนอย่างทันเวลา
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งหน้าตั้งตากันทำกิจกรรมในห้องเรียนอย่างเต็มที่ยกเว้นเพื่อนกลุ่มเป้ที่ขนาดทำงานพวกนางกูไม่หยุดเม้าส์ยังตั้งหน้าตั้าตาเม้าส์กระจายในขณะที่มือยังเขียนเเผนผังเรียกว่าเป็น       วิทยายุทย์ที่ล้ำเลิศจริงๆ
ประเมินอาจารย์
จะบอกว่าสังเกตอาจารย์มาตั้งแต่คาบเเรกที่เรียนกับอาจารย์คืออาจารย์แบบว่าดูบอบบางมากแต่จริงๆแล้วอาจารย์ทรหดมากค่ะไม่สบายก็ยังมาสอน ประชุมก็ยังเเว๊ปออกมาสอนได้อีก วันไหนอารมณ์ไม่ดี สังเกต (สีหน้าก่อนสอน) ก็ยังสอน55555 เรียกว่าฝนจะตก แดดจะออก น้ำพุจะทะลักออกนอกบ่อ อาจารย์มาสอนเป้ขอนับถือค่ะอาจารย์ เรียนวันนี้สนุกดีค่ะ ไม่ค่อยเครียด เพราะเนื้อหาที่เรียนวันนี้ค่อนข้างน้อยเลยสบายๆ


วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


                      บันทึอนุทินครั้งที่ 14

                     วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2557

  รวบรวมภาพบรรยากาศโครงการครูปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์ความเป็นไทย










การประเมิน
ประเมินตนเอง
วันนี้เหนื่อยมากแต่ก็มีความสุขงานผ่านลุล่วงไปด้วยดีถือว่างานวันนี้ประสบความสำเร็จด้วยความร่วมมือของทุกคนทุกฝ่าย ถือว่าการจัดกิจกรรมเป็นการรวมตัวของพวกเราทุกคนชาวปฐมวัยโดยเฉพาะปฐมวัยชั้นปีที่ 3 จะว่าไปก็เป็นประสบการณ์ทำงานที่ท้าทายความสามารถและน่าตื่นเต้นดีค่ะ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนเเต่ละคนทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่ตั้งเเต่เริ่มงานจนเสร็จสิ้นกิจกรรมเพื่อนบางส่วนที่ไม่มีหน้าที่ในการทำงานในวันนั้นก็มานั่งคอยช่วยเเละเป็นกำลังใจให้โดยไม่หายไปไหนทำให้งานสนุกมากขึ้น
ประเมินอาจารย์
-


                                      บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

                                    วันอังคารที่11พฤศจิกายน 2557

สรุปความรู้ที่ได้รับ : เป็นแผนผังความคิดได้ดังนี้


ตัวอย่างบัตรคำ






ความรู้ที่ได้รับ:ในวันนี้
  1. ศัพย์เฉพาะของกลุ่มโรคAutistic: ห้องเรียนคู่ขนานจะมีเด็กออทิสติกเรียนร่วมกับเด็กปกติโดยส่วนมากใช้ระบบบัดดี้
  2. เป้าหมายในการส่งเสริมพัฒนาการคือ สามารถให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ พึ่งพาตนเองและมีชีวิตอยู่ในสังคมได้
  3. พ่อเเม่ต้องมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับโรคอย่างแท้จริง
  4. พ่อแม่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการให้ความรัก ความอบอุ่น และความเข้าใจในตัวของลูก


การประเมิน
ประเมินตนเอง
วันนีเรียนเนื้อหาเยอะมากจนมึนๆงงๆเเต่ก็ตั้งสติรวบรวมสมาธิจนเรียนเข้าใจเนื้อหาในการเรียนการสอนในวันนี้เป็นอย่างดีอาจารย์ทักว่าวันนี้พวกเรทุกคนผิดปกติไม่เฮฮาเเบบเดิมจนอาจารย์ต้องขอพูดคุยเเละช่วยเเก้ไขปัญหาเพื่อให้พวกเราสบายใจมากขึ้น
ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนไม่ร่าเริงเหมือนเดิมจริงๆต่างคนต่างเงียบในหัวคิดเรื่องราที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วันนี้จริงๆกลุ่มของพวกเราก็ไม่ได้มีอะไรที่ต้องกังวลมากนักเพราะอยู่ฝ่ายสวัสดิการเเต่น่าเห็นใจเพื่อนที่อยู่ฝ่ายเอกสาร ประชาสัมพันธ์ สถานที่ เพราะเพื่อนแสดงออกอย่างชัดเจนว่าเครียดมากมีการทำงานเเละประสานงานที่ไม่ตรงกันทำให้เกิดความคับข้องใจขึ้นหลายๆอื่น  ต่างคนก็ต่างความคิด ต่างจิตต่างใจแต่เพื่อนไม่เคยที่จะแตกต่างในการที่จะสามัคคีกันเพื่อการเตรียมจัดกิจกรรมให้ออกมาอย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด
ประเมินอาจารย์
บางสิ่งถึงพวกเราไม่พูดหรือเเสดงออกมาแต่อาจารย์ก็ยังสังเกตเห็นอะไรบ้างอย่างในตัวของพวกเรา ขอบคุณอาจารย์อีกหลายๆท่านนะค่ะที่คอยช่วยเหลือเเละให้คำปรึกษาทำให้พวกเรารู้ว่าพวกเราไม่ได้อยู่เพียงคนเดียว



                              บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

                             วันอังคารที่ 4 เดือนพฤศจิกายน 2557

ความรู้ที่ได้รับ : เฉลยข้อสอบกลางภาค
วันนี้อาจารย์บอกคะเเนนเเละเฉลยข้อสอบจริงๆก็รู้คะเเนนสอบตั้งเเต่วันที่สอบเเล้วหล่ะค่ะแต่ก็มาเรียนวันนี้เพื่อจะฟังว่ามีข้อไหนที่เราทำข้อสอบผิดบ้าง ปรากฎว่าจำไม่ได้ค่าาาา ว่ากาข้อไหนไปบ้าง ก็ในห้องสอบมันตื่นเต้นความรุ้ที่เตรียมมาตีกันหมดงานเข้าเลยค่ะทีนี้ งานเดา งานจิ้มก็มา แต่ก็มีหลายๆข้อที่อ่านมาเเล้วทำข้อสอบได้ อาจารย์เฉลยข้อสอบช่วยทำให้เกิดความเข้าใจ(ในข้อที่จำได้)เพิ่มมากขึ้นค่ะ

การประเมิน
ประเมินตนเอง
ในห้องสอบงานจิ้ม งานเดาก็มา งานอ่านก็มี ก็ถือว่าพอใจในคะเเนนค่ะแต่ก็จะพยายามต่อไปและควรเกียจภาษาอังกฤษให้น้อยลงเพื่อจะได้ทำข้อสอบของอาจารย์ได้ค่าา(47คะเเนน)
ประเมินเพื่อน
เพื่อนเก่งมากยิ่งไออรุณนี่ เหนือความคาดหมายเลยค่ะ แต่ต้องยกให้เค้า เค้าเดาทางการออกข้อสอบของอาจารย์ได้เยี่ยมเลย ทุกคนตกใจไม่เชื่อว่าเค้าจะได้ และยังมีเพื่อนอีกหลายคนที่สามารถทำคะเเนนะสอบได้เกิน 50 คะเเนน ยินดีกับเพื่อนด้วยค่ะ เก่งมากกกกกก
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สังเกตสิ่งๆเล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นกับพวกเรา อาจารย์รู้ว่าพวกเราเคลียด เลยให้คำเเนะนำดีๆช่วยให้พวกเราสบายใจขึ้น ส่วนเรื่องข้อสอบศัพท์เฉพาะเยอะมากค่ะ ง่ายบ้างยากบ้างปะปนกันไป เวลาทำข้อสอบกันไป(เดา/จิ้ม) มันส์เลยค่ะอาจารย์


วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วันอังคารที่ 28 ตุลาคม 2557
สอบกลางภาคค่ะ
การประเมินหลังการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง 
อ่านหนังสือสอบ1 วันเพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบครั้งนี้ เเต่พอมาเจอโจทยืข้อสอบเท่านั้นหล่ะค่ะ จะเป็นลมภาษาอังกฤษเยอะมากๆซึ่งหนูไม่ได้อ่านมาเลย จะจำไว้ขึ้นใจเลยค่ะว่าถ้่สอบของอาจารยืเมื่อไหร่เน้นภาษาอักฤษมากเลยจะได้คะเเนนดีขึ้น
ประเมินเพื่อน 
เพื่อนหลายๆคนสามารถทำคะเเนนสอบได้ในระดับดีทีเดียว แต่ก็ยังมีอีกหลายๆคนที่คะเเนนสอบออกมาไม่ค่อยเป็นที่หน้าพอใจแอบสังเกตจากสีหน้าของเพื่อนๆตอนที่อาจารย์บอกคะเเนน
ประเมินอาจารย์ 
ข้อสอบอาจารย์ไม่ได้ยากนะค่ะ เเต่ยากมากที่ตรงศัพทืภาษาอังกฤษนี่หล่ะค่ะ โฮ้โห้ ครั้งเเรกที่สอบแล้วมีคำศัพ?เฉพาะเยอะขนาดนี้ แต่ก็ดีค่ะ เรียกว่าใครอ่านหนังสือสอบมาก้สามารถทำข้อสอบได้ แต่สำหรับคนที่ไม่ได้อ่านมาไว้อาลัยให้ตัวเองในห้องสอบได้เลยค่ะ

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557


                     บันทึกอนุทินครั้งที่9
                              วันอังคารที่ 21 ตุลาคม 2557
ความรู้ที่ได้รับ
                     เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders) หมายถึง เด็กที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม (ต่อต้านตนเองหรือผู้อื่น) หรือมีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ (แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ) ออกมาอย่างเนื่องจนถึงระดับที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาของเด็กไม่ว่าจะเพียงลักษณะเดียว หรือหลายลักษณะร่วมกันก็ได้ เช่น มีความยากลำบากในการเรียน ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางด้านสติปัญญา ประสาทสัมผัส หรือสุขภาพ มีความยากลำบากในการสร้างหรือคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนและครู แสดงออกถึงภาวะความเครียดและไม่มีความสุขอย่างเป็นปกติ มีแนวโน้มของอาการทางสุขภาพร่างกาย หรือความกลัวอันเป็นผลของปัญหาที่เกิดกับตัวเด็กเองหรือปัญหาที่เกิดในโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของลูกครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งปัญหาเหล่านั้น ส่วนใหญ่สามารถได้รับการช่วยเหลือหรือแก้ไขได้ หากเด็กได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ปัญหาของเด็กในบางกรณีอาจจะมีความรุนแรง ซึ่งเป็นสัญญาณของปัญหาสำคัญที่เด็กกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กเรื้อรังติดต่อกันเป็นเวลานานจนกระทั่งเด็กโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ผลเสียที่ตามมาอาจลุกลามไปถึงการสูญเสียของชีวิตก็เป็นได้
                    ความพิการซ้อน (Multiple Disabilities) หมายถึง ความบกพร่องร่วมกันมากกว่า 1 ลักษณะที่เกิดขึ้นต่อบุคคล (Simultaneous impairments) อาทิเช่น บกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับตาบอด หรือบกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อโดยปกติแล้ว สำหรับเด็ก ความซ้ำซ้อนเหล่านี้มักก่อให้เกิดปัญหาในการเรียนรู้ เนื่องจากเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาพิเศษที่เหมาะสมต่อความบกพร่องทางใดทางหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้เด็กพิการซ้อนมักมีปัญหาความผิดปกติที่หลากหลาย ซึ่งมักได้แก่ การพูด การเคลื่อนไหวร่างกาย การเรียนรู้ การมองเห็น การได้ยิน ความบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น นอกจากนี้ เด็กยังอาจมีภาวะสูญเสียการรับรู้ทางประสาทสัมผัส (Sensory Losses) รวมทั้งมีปัญหาด้านพฤติกรรมและสังคมเด็กพิการซ้อนแต่ละราย จะมีความแตกต่างกันทางลักษณะและระดับความรุนแรงของอาการ เด็กกลุ่มนี้มักมีความบกพร่องทางการได้ยินและมีปัญหาในการประมวลผลของสิ่งที่ได้ยิน รวมถึงมีข้อจำกัดในการพูด การเคลื่อนไหวของร่างกาย เด็กอาจมีความลำบากในการปฏิบัติและจดจำ อีกทั้งยังไม่สามารถนำทักษะที่มีไปปรับใช้ได้เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นแล้ว ความช่วยเหลือและการสนับสนุนเด็กกลุ่มนี้ให้ได้รับโอกาสในการมีชีวิตที่ดี ซึ่งวิธีการดูแลและรักษาความพิการซ้อนจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละราย โดยพิจารณาจากสาเหตุและลักษณะพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก


สรุปองค์ความรู้ : แผนผังความคิด



บุคลตัวอย่างที่มีความพิการซ้อน
เฮเลน  เคลเลอร์ (Helen  Keller)
           ผู้นำสตรีในกลุ่มผู้พิการซ้ำซ้อน ที่สามารถฝ่าฝันอุปสรรคทางร่างกายทั้ง ตาบอด หูหนวก และเป็นใบ้  ต่อสู้ชีวิตได้อย่างงดงามวิถีชีวิตของ “เฮเลน  เคลเลอร์ที่พิการซ้ำซ้อน ทำให้ท่านต้องต่อสู้กับการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างหนักหน่วง เรื่องที่เป็นปกติธรรมดาของผู้คนที่ปกติ  เช่น  การฝึกออกเสียง  ฝึกพูด กลับกลายเป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็ญสำหรับเธอเฮเลนสามารถเรียนจบวิทยาลัย เมื่อมีอายุ 24 ปี เธอสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 2 โดยเป็นนักศึกษาพิการตาบอดหูหนวก คนแรกในสหรัฐฯที่เรียนจบในระดับมหาวิทยาลัยและระยะเวลาทอดยาวนานถึง 50 ปีกว่าจะมีคนพิการที่สำเร็จการศึกษาเป็น คนที่  

ความรู้ที่ได้รับ
  1. เกิดความเข้าใจในธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กพิเศษเพิ่มมากขึ้น
  2. เด็กพิเศษมาหลากหลายประเภทแต่ละประเภทมีกระบวนการเรียนรู้ที่เเตกต่างกัน
  3. ผู้ปกครองควรมีความรู้และมีจิตใจที่เข้มแข็งในการที่จะเลี้ยงดูเด็กพิเศษ
การประเมิน
ประเมินตนเอง
วันนี้ไม่ค่อยมีสมาธิที่จะเรียนเนื่องจากปวดหัวมาก แต่ออกมาศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมทางอินเตอร์เน็ตเพื่อต่อยอดการเรียนรู้ให้มีความต่อเนื่อง
ประเมินเพื่อน
มีความเสนอความคิดเห็นเเละมีการตั้งคำถามในห้องเรียน ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนมีความสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีการยกตัวอย่างพฤติกรรมของเด็กพิเศษให้ดูเป็นตัวอย่างจึงทำให้เข้าใจเนื่้อหามากขึ้น และใช้คำถามในการกระตุ้นการเรียนรู้ของนักศึกษาได้อย่างสนุกสนาน