วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557


                     บันทึกอนุทินครั้งที่9
                              วันอังคารที่ 21 ตุลาคม 2557
ความรู้ที่ได้รับ
                     เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders) หมายถึง เด็กที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม (ต่อต้านตนเองหรือผู้อื่น) หรือมีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ (แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ) ออกมาอย่างเนื่องจนถึงระดับที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาของเด็กไม่ว่าจะเพียงลักษณะเดียว หรือหลายลักษณะร่วมกันก็ได้ เช่น มีความยากลำบากในการเรียน ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางด้านสติปัญญา ประสาทสัมผัส หรือสุขภาพ มีความยากลำบากในการสร้างหรือคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนและครู แสดงออกถึงภาวะความเครียดและไม่มีความสุขอย่างเป็นปกติ มีแนวโน้มของอาการทางสุขภาพร่างกาย หรือความกลัวอันเป็นผลของปัญหาที่เกิดกับตัวเด็กเองหรือปัญหาที่เกิดในโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของลูกครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งปัญหาเหล่านั้น ส่วนใหญ่สามารถได้รับการช่วยเหลือหรือแก้ไขได้ หากเด็กได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ปัญหาของเด็กในบางกรณีอาจจะมีความรุนแรง ซึ่งเป็นสัญญาณของปัญหาสำคัญที่เด็กกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กเรื้อรังติดต่อกันเป็นเวลานานจนกระทั่งเด็กโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ผลเสียที่ตามมาอาจลุกลามไปถึงการสูญเสียของชีวิตก็เป็นได้
                    ความพิการซ้อน (Multiple Disabilities) หมายถึง ความบกพร่องร่วมกันมากกว่า 1 ลักษณะที่เกิดขึ้นต่อบุคคล (Simultaneous impairments) อาทิเช่น บกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับตาบอด หรือบกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อโดยปกติแล้ว สำหรับเด็ก ความซ้ำซ้อนเหล่านี้มักก่อให้เกิดปัญหาในการเรียนรู้ เนื่องจากเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาพิเศษที่เหมาะสมต่อความบกพร่องทางใดทางหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้เด็กพิการซ้อนมักมีปัญหาความผิดปกติที่หลากหลาย ซึ่งมักได้แก่ การพูด การเคลื่อนไหวร่างกาย การเรียนรู้ การมองเห็น การได้ยิน ความบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น นอกจากนี้ เด็กยังอาจมีภาวะสูญเสียการรับรู้ทางประสาทสัมผัส (Sensory Losses) รวมทั้งมีปัญหาด้านพฤติกรรมและสังคมเด็กพิการซ้อนแต่ละราย จะมีความแตกต่างกันทางลักษณะและระดับความรุนแรงของอาการ เด็กกลุ่มนี้มักมีความบกพร่องทางการได้ยินและมีปัญหาในการประมวลผลของสิ่งที่ได้ยิน รวมถึงมีข้อจำกัดในการพูด การเคลื่อนไหวของร่างกาย เด็กอาจมีความลำบากในการปฏิบัติและจดจำ อีกทั้งยังไม่สามารถนำทักษะที่มีไปปรับใช้ได้เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นแล้ว ความช่วยเหลือและการสนับสนุนเด็กกลุ่มนี้ให้ได้รับโอกาสในการมีชีวิตที่ดี ซึ่งวิธีการดูแลและรักษาความพิการซ้อนจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละราย โดยพิจารณาจากสาเหตุและลักษณะพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก


สรุปองค์ความรู้ : แผนผังความคิด



บุคลตัวอย่างที่มีความพิการซ้อน
เฮเลน  เคลเลอร์ (Helen  Keller)
           ผู้นำสตรีในกลุ่มผู้พิการซ้ำซ้อน ที่สามารถฝ่าฝันอุปสรรคทางร่างกายทั้ง ตาบอด หูหนวก และเป็นใบ้  ต่อสู้ชีวิตได้อย่างงดงามวิถีชีวิตของ “เฮเลน  เคลเลอร์ที่พิการซ้ำซ้อน ทำให้ท่านต้องต่อสู้กับการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างหนักหน่วง เรื่องที่เป็นปกติธรรมดาของผู้คนที่ปกติ  เช่น  การฝึกออกเสียง  ฝึกพูด กลับกลายเป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็ญสำหรับเธอเฮเลนสามารถเรียนจบวิทยาลัย เมื่อมีอายุ 24 ปี เธอสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 2 โดยเป็นนักศึกษาพิการตาบอดหูหนวก คนแรกในสหรัฐฯที่เรียนจบในระดับมหาวิทยาลัยและระยะเวลาทอดยาวนานถึง 50 ปีกว่าจะมีคนพิการที่สำเร็จการศึกษาเป็น คนที่  

ความรู้ที่ได้รับ
  1. เกิดความเข้าใจในธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กพิเศษเพิ่มมากขึ้น
  2. เด็กพิเศษมาหลากหลายประเภทแต่ละประเภทมีกระบวนการเรียนรู้ที่เเตกต่างกัน
  3. ผู้ปกครองควรมีความรู้และมีจิตใจที่เข้มแข็งในการที่จะเลี้ยงดูเด็กพิเศษ
การประเมิน
ประเมินตนเอง
วันนี้ไม่ค่อยมีสมาธิที่จะเรียนเนื่องจากปวดหัวมาก แต่ออกมาศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมทางอินเตอร์เน็ตเพื่อต่อยอดการเรียนรู้ให้มีความต่อเนื่อง
ประเมินเพื่อน
มีความเสนอความคิดเห็นเเละมีการตั้งคำถามในห้องเรียน ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนมีความสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีการยกตัวอย่างพฤติกรรมของเด็กพิเศษให้ดูเป็นตัวอย่างจึงทำให้เข้าใจเนื่้อหามากขึ้น และใช้คำถามในการกระตุ้นการเรียนรู้ของนักศึกษาได้อย่างสนุกสนาน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น